มาเปลี่ยนภาพถ่าย
เพื่ออากาศที่เท่ากัน

#PHOTOFORAIR

อะไรคือ #photoforair

ฟิลเตอร์ภาพถ่าย
ที่สร้างจากฝุ่นควันในเชียงใหม่

แคมเปญ #PHOTOFORAIR ต้องการที่จะสะท้อนประสบการณ์ที่ของชาวเชียงใหม่ที่ต้องอยู่ในฤดูฝุ่น รวมทั้งผลกระทบที่ไม่เท่าเทียมกันของผู้คนในจังหวัดเดียวกัน
โดยการสร้างฟิลเตอร์นี้ได้ที่หยิบเอา “ประสบการณ์ทางสายตา” หรือลักษณะเด่นที่พยเห็นจากการอยู่ในวิกฤติฝุ่นควัน อย่างเช่น แสงนุ่มๆ จากฝุ่นควันที่ปกคลุม โทนอุ่นๆ จากไฟป่ายามพระอาทิตย์ตก และโทนหม่น ๆ จากฝุ่นควัน 500 AQI
จนเกิดเป็นฟิลเตอร์ภาพถ่ายที่ชื่อ “CNXPM2.5” ที่จะเปลี่ยนภาพถ่ายของคุณให้ดูเหมือนภาพถ่ายที่ถูกถ่ายขึ้นในช่วง "ฤดูฝุ่น" ของจังหวัดเชียงใหม่

Preset Character

แสงนุ่ม ๆ จากฝุ่นควัน
ที่ปกคลุมทั่วเชียงใหม่

ทุกวันนี้ชีวิตชาวเชียงใหม่แบบผมในช่วงฤดูฝุ่นที่เริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมจนถึงพฤษภาคม มักคุ้นกับสภาพฝุ่นควันในระดับ 150 – 500 AQI เป็นอย่างดี เพราะฝุ่นควันนี้ได้ปกคลุมเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่เช้ายันเย็น และอยู่ในทุกๆ กิจกรรมที่เราทำไม่ว่าจะเป็นการกินข้าว เข้าห้องน้ำ เรียนหนังสือ ออกกำลังกายก็ ด้วยความหนาแหน่ของฝุ่นกว่า 500 AQI จึงทำให้บรรกาศรอบๆที่เห็นดูคล้ายกับการเอา Softbox ครอบคลุมดวงอาทิตย์เอาไว้ทำให้ภาพที่คนเชียงใหม่เห็นอยู่ในฤดูฝุ่นนี้ค่อนข้างนุ่มนวล หรือในภาษาที่คนชอบถ่ายภาพเรียกกันว่า Low-contrast แต่เป็นบรรกาศที่นุ่มนวลจนแทบขาดอากาศหายใจ

หลังใช้
ก่อนใช้
ก่อนใช้
หลังใช้
Preset Character

โทนอุ่น ๆ จากไฟป่า
ในยามพระอาทิตย์ตก

อีกลักษณะที่เห็นในช่วงฤดูฝ่น คือ "สีเหลือง" ที่ปะปนอยู่กับฝุ่นควันและอบอวนอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมักจะมีให้เห็นในช่วงเย็นตอนที่สีของท้องฟ้าและไฟป่าที่ไหม้อยู่ ทำให้ท้องฟ้าเชียงใหม่ปกคลุมไปด้วยสีเหลือง คล้ายกับการเลื่อน Temp ไปทางขวาของโปรแกรมแต่งภาพ
ทำให้บรรยกาศยามเย็นของเชียงใหม่ในฤดูฝุ่นนี้ดูเหมือตอนจบของหนังรักโรแมนติก แต่พระเอกต้องใส่หน้ากากอนามัยระหว่างจูบนางเอก

Preset Character

โทนหม่น ๆ จากฝุ่นควัน
ในระดับ 500 AQI

อีกหนึ่งลักษณะสำคัญที่สังเกตุได้คือ "ความหม่น" ของบรรยกาศในฤดูฝุ่นนี้ หรือในภาษาของคนที่ชอบถ่ายภาพจะเรียกว่า "faded look" นี้โดยความหม่นนี้จะเห็นได้ในเฉพาะช่วงที่ฝุ่นควันมีความหนาแน่นสูงตั้งแต่ 500 AQI ขึ้นไป

ก่อนใช้
หลังใช้
จำนวนเงินที่ได้รับ
บาท
0

มาร่วมเปลี่ยน
ภาพถ่ายของคุณ

จำนวนหน้ากาก N95
บาท
0
ทำไมถึงเกิดฟิลเตอร์นี้ขึ้น

1 เดือนในฤดูฝุ่น
ตายไวขึ้น 1 วัน

ผมอยากลองชวนให้ทุกคนลองจินตนาการว่า คุณอยู่ในเมืองที่เมื่อออกไปทำงานข้างนอก คุณต้องสวมหน้ากากตลอดเวลาเพื่อลดการแสบจมูกจากฝุ่นควันที่ลอยปกคลุมอยู่ในเมือง และเมื่อเวลานอนหากอยากจะนอนอย่างสบาย ไม่แสบจมูกก็ต้องหาหน้ากากเพื่อสวมใส่ ถ้าหากโชคดีหน่อยก็จะแค่ตื่นมาพร้อมกับรอยยับยู่ยี่บนแก้มจากสายรัดของหน้ากากอนามัย แต่หากโชคร้ายคุณจะตื่นมาพร้อมกับเลือดที่ไหลออกทางจมูก

ผมคือคนหนึ่งที่เคยต้องใส่หน้ากากตลอดช่วง 24 ชั่วโมง เพียงเพราะว่าไม่สามารถจ่ายค่าเครื่องฟอกอากาศที่จะช่วยให้ผมรอดจากฝุ่นควันที่ปกคลุมอยู่ตลอดทั้งวันทั้งคืนได้

หมอกควัน, ฝุ่นควัน, PM2.5 หลากหลายคำถูกใช้เรียกปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณเขตตัวเมืองเชียงใหม่ที่ต้องใช้ชีวิตกว่า 3 เดือนภายใต้หมอกควันพิษที่ปกคลุมไปทั่วทั้งเมืองตลอด 24 ชั่วโมง หลายคนเลือกที่จะมีชีวิตรอดด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างเครื่องฟอกอากาศเพื่อให้อยู่รอดภายใต้ช่วงเดือนที่เป็นอันตรายนี้

ความอันตรายของการอยู่ภายใต้ปรากฏการณ์ฝุ่นควันนี้ เห็นได้จากข้อมูลจากกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียงของกรมควบคุมมลพิษตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 จนถึงปี ค.ศ. 2020 ที่บอกว่าตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนเมษายนจะเป็นช่วงที่มีฝุ่น PM 2.5 มากที่สุดตั้งแต่ 44 มคก./ลบ.ม. ไปจนถึง 110 มคก./ลบ. ซึ่งตั้งแต่ 51 มคก./ลบ.ม. จะเป็นระดับที่ “เริ่มมีผลต่อสุขภาพ”

จากการคำนวนของ Apps “Sh**t! I Smoke”  ระบุว่าหากคุณอยู่ในเชียงใหม่เพียง 1 เดือนในช่วงเดือนเมษายนเท่ากับว่าคุณได้สูบบุหรี่ 120 ตัว!! และถ้าเอาตัวเลขนี้มาคำนวณกับผลงานวิจัยของ Richard Doll จาก University of Bristol บอกว่าสูบบุหรี่ 1 ตัวลดเวลาชีวิต 11 นาที เท่ากับว่าถ้าคุณอยู่ในเชียงใหม่จะตายไวขึ้น 22 ชั่วโมงต่อเดือนหรือเกือบ 1 วันเต็ม

แต่มันจะไม่ใช่ปัญหาถ้าคุณสามารถซื้อเครื่องฟอกอากาศที่ราคาอย่างน้อย 3,000 บาท ที่มีเพียงหน้าที่เดียวคือทำให้คุณได้มีอากาศบริสุทธิ์หายใจ

แต่เราจะต้องจ่ายกันสักเท่าไหร่? จากอากาศที่ไม่สามารถหายใจได้??

หลายคนที่พอจะมีทุนอยู่บ้างได้หันไปหาเครื่องฟอกอากาศเพื่อมาช่วยพยุงชีวิตเอาไว้ จนทำให้เครื่องฟอกอากาศได้กลายเป็นสินค้าหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงฤดูฝุ่นนี้ เห็นได้จากสถิติของกรมศุลกากรที่บอกว่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 จนถึงเดือนกันยายนปี ค.ศ. 2020 ประเทศไทยได้นำเข้าเครื่องฟอกอากาศแล้วเป็นมูลค่ากว่า 9 พันล้านบาท หรือประมาณ 12  ล้านเครื่องได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยแล้ว

แต่ถ้าคุณจ่ายไม่ไหวล่ะ? 

ผมเป็นหนึ่งในคนที่ต้องหยิบยืมเงินมาเพื่อซื้อเครื่องฟอกอากาศหลังจากเลือดไหลออกจากจมูกเป็นครั้งที่ 3 ในรอบเดือน ผมเลี่ยงที่จะต้องเสียเงินซื้อเครื่องฟอกอากาศมาตลอดด้วยเหตุผลที่ว่ามันยังไม่จำเป็นมากนักในตอนนั้นและผมยังหนุ่มยังแน่นน่าจะ “ทนไหว” และผมยังก็ไม่ได้มีเงินสำรองมากพอที่จะมาจ่ายให้กับการหายใจในราคา 3,000-5,000 บาท และยังไม่รวมถึงไส้กรองที่ต้องเปลี่ยนและค่าไฟที่จะเพิ่มเข้ามา ทำให้ผมเลี่ยงการซื้อเครื่องฟอกอากาศมาตลอด

และผมคงไม่ใช่เพียงคนเดียวที่มีปัญหานี้ ตามสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2561 ได้ระบุว่าเฉพาะในตัวเมืองเชียงใหม่มีจำนวนคนจน อยู่ที่ 149,000 คน ตัวเลขนี้อาจจะไม่เที่ยงตรงนักเพราะยังไม่ได้รวมกลุ่มแรงงานข้ามชาติ และประชากรแฝงในเชียงใหม่อย่างตัวผม แต่อย่างน้อยก็น่าจะบอกเราได้ว่ามีผู้คนอย่างน้อย ๆ กว่า 100,000 คนที่อาจจะต้องการอากาศหายใจที่ดีเหมือนกับผม

เครื่องฟอกอากาศกลายเป็นเรื่องปกติของชาวไทยโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ แต่กลายเป็นของหรูหราสำหรับผมและอีกหลายคน หลายครอบครัวที่ต้องอยู่ในสถานการณ์แบบผมหรืออาจจะแย่กว่าด้วยซ้ำ

แต่มันควรเป็นอย่างนั้นเหรอ??

“เราไม่ควรที่จะต้องจ่ายเพื่อหายใจ” อากาศหายใจที่บริสุทธิ์ไม่ควรจะเป็นเรื่องของคนที่มีเงินจ่ายไหว แต่มันควรจะเป็นของทุกๆคน ดังนั้นในขณะที่เรายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาฝุ่นควันนี้ได้ อย่างน้อยทุกๆคนควรได้หายใจเท่า ๆ กัน

เจ็บคอก็กินน้ำ แสบตาก็ล้างหน้า

จากการสำรวจในชุมชนแรงงานข้ามชาติร่วมกับกลุ่มตี๋ตางหรือกลุ่มภาคประชาสังคมที่ทำงานกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า PM2.5 เป็นเพียงปัญหาเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับปัญหาอื่นๆ ที่กลุ่มแรงงานต้องเจอ เช่นความไม่มั่นคงทางด้านรายได้ ค่าใช้จ่ายสำหรับเอกสารแรงงาน สภาพการทำงานที่หนักและอันตรายอยู่แล้วโดยเฉพาะกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

“ตอนทำงานก็มีฝุ่นควันจากลูกหมู (เครื่องเจียรไฟฟ้า) อยู่แล้วเต็มไปหมด แยกไม่ออกหรอกว่าอันไหน P.M.2.5 อันไหนฝุ่นจากลูกหมู”

คำพูดของจายแสง แรงงานข้ามชาติชาวไทยใหญ่ที่เล่าให้ฟังเมื่อเราถามถึงเรื่องฝุ่นควันในที่ทำงานช่วงฤดูฝุ่น

สำรวจความคิดเห็นและผลกระทบของแรงงานข้ามชาติ ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

แต่หลายคนก็เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งต่อลูกหลาน หรือตัวเอง อย่างการแสบตา หรือแสบคอ ในช่วงที่มีฝุ่นควันมาก หลายคนก็ตอบว่าถ้าเป็นมาก ๆ ก็เพียงแค่ล้างหน้าล้างตา แล้วก็ดื่มน้ำเพิ่ม

แต่เมื่อถามว่าแก้ปัญหาอย่างไรในช่วงที่ฝุ่นควันพุ่งสูง ทุกคนต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าทำได้เพียงแค่ใส่หน้ากาก และเป็นเพียงหน้ากากอนามัยเท่านั้นที่พอจะจ่ายไหว แต่หน้ากาก N95 ที่ใช้กันฝุ่นควันนั้น หลายคนตอบเพียงแต่ว่าไม่รู้จักและเมื่อเราบอกราคาตลาดไป (60-90 บาท) ทุกคนก็ต่างบอกกันว่าด้วยรายได้ประมาณ 10,000 ต้นๆต่อเดือนคงไม่สามารถไปซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นมาใช้ได้ไม่ต้องพูดถึงเครื่องฟอกอากาศที่ราคา 3,000-4,000 บาท ที่กลายเป็นเรื่องที่เกินเอื้อม กลายเป็นว่าแม้จะอยู่ในวิกฤติฝุ่นควันเหมือนกันแต่กลุ่มแรงงานกลุ่มนี้กลับได้รับผลกระทบที่ไม่เท่ากัน 

ในปัจจุบันที่เรากำลังรอการเกิดขึ้นของกฎหมายอากาศสะอาดที่ จะมาควบคุมฝุ่นควันและตอนนี้ยังไม่สามารถหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่นควันนี้ได้ เห็นได้ชัดเจนว่าเรานั้นได้รับผลกระทบจากวิกฤตินี้อย่างไม่เท่าเทียมกัน กลุ่มคนที่สามารถหาซื้อเครื่องฟอกอากาศหรือหน้ากาก N95 มาได้ย่อมได้รับผลกระทบที่น้อยกว่าผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงเครื่องฟอกอากาศได้หรือหน้ากากที่ราคาแสนแพงนี้ได้

ผมจึงต้องการที่จะอุดรูรั่วที่ทำให้เราหายใจได้ไม่เท่ากันนี้ และอยากให้ทุกคนได้หายใจในอากาศบริสุทธิ์ผ่านแคมเปญนี้ที่อยากจะชวนคุณมาแต่งภาพถ่ายของเพื่อน ๆ ผ่าน preset "CNXPM2.5" และนำเงินที่ได้จากการจ่ายเพื่อ preset ตัวนี้ ไปซื้อหน้ากาก N95 เพื่อแจกจ่ายให้กับแรงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงใหม่ และจะทำให้เราได้หายใจในอากาศบริสุทธิ์ที่เท่า ๆ กันขึ้นมาอีกนิด

Follow on

Instagram

สามารถใช้ตัวนี้แล้วแท็กภาพโดยใช้ #cnxpm25 หรือ #photoforair

[instagram-feed feed=2]
Explore
Drag